เปิดมาตรการรับมือ "โควิด-19" ก่อนเข้าระยะ 3

เปิดมาตรการรับมือไวรัสโควิด-19 "อุตตม" เทหมดหน้าตักทุ่มแสนล้านฝ่าวิกฤติโลก ก่อนเข้าระยะ 3

  • HOME
  • NEWS & EVENTS
  • COVID-19
  • เปิดมาตรการรับมือ "โควิด-19" ก่อนเข้าระยะ 3

เปิดมาตรการรัฐสกัด COVID-19 ก่อนเข้าระยะ 3

1. มาตรการรับมือของสถานพยาบาลและโรงพยาบาล

โดยต้องจัดเตรียมเตียงสำหรับรักษาคนไข้ ทั้งโรงพยาบาลทั้งภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น ตำรวจและทหารและมหาวิทยาลัย เพื่อรองรับสถานการณ์ที่จะมาถึง ซึ่งนอกจากเตรียมโรงพยาบาลและเตียงแล้ว จะต้องเตรียมบุคลากรทางการแพทย์ ระดมติดต่อแพทย์อาชีพ แพทย์ภาครัฐ แพทย์ภาคเอกชน แพทย์ที่เกษียณหรือออกจากราชการไปแล้ว รวมถึงพยาบาล จิตอาสา และอาสาสมัครที่มีความรู้ด้านการแพทย์ หากสถานการณ์ไปถึงจุดที่จำเป็น ต้องขอความร่วมมือจากบุคลากรเหล่านี้ นอกจากนี้การเตรียมยาและเวชภัณฑ์ได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการแล้ว

2. การเตรียมเวชภัณฑ์ เจลและหน้ากากอนามัย

กระทรวงพาณิชย์ได้เร่งกำลังการผลิตหน้ากากวันละ 2 ล้านชิ้นต่อวัน และได้รับการแจ้งจากบางประเทศพร้อมให้ความช่วยเหลือประเทศไทยมากขึ้น และเร่งเจลและแอกอฮอล์ กระทรวงอุตสาหกรรมได้แก้กฎหมายเพื่อให้เร่งผลิตเจลฯ ได้มากขึ้น ทั้งนี้ได้ควบคุมและตรวจสอบเวชภัณฑ์ที่จำหน่ายในช่องทางออนไลน์ที่จำหน่ายเกินราคา มีประมาณ 1 ล้านชิ้น ให้ส่งกลับมายังศูนย์โควิด-19 เนื่องจากถือเป็นของกลาง เพื่อนำไปแจกจ่ายโรงพยาบาลและประชาชน

3. มาตรการชี้แจงข้อมูลข่าวสารโควิด-19

รัฐบาลได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ปัญหาให้กับสายร้องทุกข์ประมาณ 100 สายต่อวัน ซึ่งส่วนใหญ่สอบถามเรื่องการปิดโรงเรียน การเดินทางออกนอกประเทศ ซึ่งวันนี้จะมีคำชี้แจงอย่างชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางการตอบคำถามประชาชน

4. การประสานงานกับต่างประเทศ

เนื่องจากมีบางประเทศให้ความช่วยเหลืออุปกรณ์ทางการแพทย์ หน้ากากอนามัย เป็นต้น อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลจะเร่งดำเนินการในประเทศควบคู่กับการรับจากต่างประเทศ ทั้งนี้ได้ประสานต่างประเทศต้นทางที่ยกเลิกมาตรการยกเลิกวีซ่า รวมถึงมาตรการรองรับสำหรับคนไทยในต่างประเทศ เช่น ข้าราชการประจำสถานทูต นักเรียนไทยในต่างประเทศ

“ทั้งนี้มีมาตรการเดินทางจากต่างประเทศที่เข้มงวดขึ้น เช่น จะต้องแนบใบตรวจโรคที่มีอายุไม่เกิน 3 วัน และต้องทำประกันสุขภาพ รวมถึงยินยอมให้รัฐบาลติดตั้งแอพลิเคชั่นในการติดตามตัวและข้อมูลข่าวสาร ตามกฎหมายควบคุมโรค”


ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ