Panic Attack อาการแพนิคโควิด-19

"เราติดรึยังนะ?” เจ้า panic attack ที่เป็นผลมาจากความเครียดนี่แหละที่รบกวนชีวิตหลาย ๆ ท่านอย่างมาก ซึ่งเจ้าความเครียดนี่ มีน้อย ๆ ก็ช่วยกระตุ้นให้เรา active ดีอยู่หรอก แต่ถ้ามีมาก ๆ และสะสมเรื้อรัง ความเครียดจะทำให้เรากลายเป็นโรควิตกกังวลที่ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาให้ความช่วยเหลือ

"เราติดยังนะ?”

เจ้า panic attack ที่เป็นผลมาจากความเครียดนี่แหละที่รบกวนชีวิตหลาย ๆ ท่านอย่างมาก ซึ่งเจ้าความเครียดนี่ มีน้อย ๆ ก็ช่วยกระตุ้นให้เรา active ดีอยู่หรอก แต่ถ้ามีมาก ๆ และสะสมเรื้อรัง ความเครียดจะทำให้เรากลายเป็นโรควิตกกังวลที่ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาให้ความช่วยเหลือ และกลุ่มอาการของโรควิตกกังวลที่พบได้มาก และแสดงอาการรุนแรงที่สุด ก็คือ โรคแพนิค (Panic Disorder) ซึ่งมีการแสดงอาการ panic attack ออกมาแบบไม่เลือกที่เลือกเวลา มีความเครียดเมื่อไหร่ก็โผล่มาทุกที ซึ่ง panic attack มีอาการสำคัญ 11 อาการด้วยกัน ได้แก่:

1. ใจสั่น ใจเต้นแรง หัวใจเต็นเร็วมาก

2. เหงื่อแตก แม้อาการจะไม่ร้อนก็ตาม

3. ตัวสั่นแบบควบคุมไม่ได้

4. หายใจไม่อิ่ม หายใจติดขัด

5. รู้สึกอึดอัด หายใจไม่ออก

6. เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก

7. คลื่นไส้ มวนท้อง อยากอาเจียน

8. ปวดหัว มึนหัว รู้สึกเหมือนจะเป็นลม

9. รู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมแปลกไปหรือไม่เป็นที่คุ้นเคย เช่น เห็นวัตถุมีลักษณะบิดเบี้ยว ห้องแคบลงหรือกว้างขึ้น ซึ่งในทางจิตวิทยาเรียกว่า Derealization

10. กลัวว่าจะควบคุมตัวเองไม่ได้

11. กลัวว่าตัวเองจะตาย

โดยคนที่เข้าข่ายโรคแพนิคต้องมีอาการข้างบนอย่างน้อย 4 อาการ ซึ่งอาการต้องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และพุ่งสูงในระยะเวลา 10 นาที

นอกจากนี้ การที่จะผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ ต้องอาศัยความเข้มแข็งทั้งแรงใจ และแรงกายด้วย เรามาเอาชนะความเครียดและอาการแพนิค ในช่วง COVID-19 แพร่ระบาดกันเลย

  • ศึกษาข้อมูลของสถานการณ์จากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ
  • ป้องกันตัวเองจากสิ่งที่ทำให้เครียด พักผ่อนให้เพียงพอ อย่าไปคิดมาก
  • แยกให้ออกระหว่างป่วยเป็นไข้หวัดธรรมดา หรือป่วยเป็น COVID-19 พร้อมหาทางแก้ไขอย่างถูกวิธี 
  • สิ่งที่จะแยกว่าเราติดเชื้อ COVID-19 หรือเป็นไข้หวัดธรรมดา ก็คือ ถ้าเป็นเชื้อ COVID-19 จะไม่มีน้ำมูก ทีนี้ถ้าเราเข้าข่ายเสี่ยงก็ขอให้ตั้งสติพาตัวเองไปตรวจที่โรงพยาบาล
  • ป้องกันตัวเอง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

หากทุกคนสามารถทำแบบนี้ได้ ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะติดโรคแล้ว อย่าลืมว่า “จงใช้ชีวิตอยู่ในความไม่ประมาท” ก็พอแล้ว


อ้างอิง :

1. รัตนา สายพานิชย์ และ สุวรรณี พุทธิศรี. กรกฏาคม 2548. จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี. ฉบับพิมพ์

    ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล. หน้า 161 – 162.  

2. BBC.  ไวรัสโคโรนา : ที่มา อาการ การรักษา และ การป้องกันโรคโควิด-19 หลังการระบาด

    เข้าเดือนที่ 3. 5 มีนาคม 2563. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2563

    จาก https://www.bbc.com

3. นำชัย ชีววิวรรธน์. องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญนานาชาติรวม 25 คน

    เข้าไปในจีน และต่อไปนี้ก็คือ ข้อสรุปหลัก ๆ ของผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ หลังจากปฏิบัติงานผ่านไป

    9 วัน. 6 มีนาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2563 จาก https://www.nstda.or.th